15 เมษายน 2552

หมวดที่ 4สายที่ 1811

ชื่อเส้นทาง ภูเก็ต - ท่าฉัตรชัย

รายละเอียดเส้นทาง

เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ตไปตามถนนเทพกระษัตรี แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 ผ่านท่าเรือ บ้านลิพอน อำเภอถลาง บ้านเมืองใหม่ ทางแยกเข้าท่าอากาศยานภูเก็ต บ้านบางดุก บ้านคอเอน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางท่าฉัตรชัย

ช่วงภูเก็ต - บ้านในทอน

เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ตไปตามถนนเทพกระษัตรี แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 ผ่านท่าเรือ บ้านลิพอน อำเภอถลาง บ้านเมืองใหม่ ทางแยกเข้าท่าอากาศยานภูเก็ต แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4020 ผ่านท่าอากาศยานภูเก็ต แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4031 ถึงทางแยกไปบ้านในทอน แยกขวาไปตามถนน รพช. หมายเลข ภก.4003 ผ่านบ้านสาคู ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านในทอน

ช่วงภูเก็ต - บ้านไม้ขาว

เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ตไปตามถนนเทพกระษัตรี แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 ผ่านท่าเรือ บ้านลิพอน อำเภอถลาง บ้านเมืองใหม่ ทางแยกเข้าท่าอากาศยานภูเก็ต ถึงบ้านบางดุก แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไม้ขาว

หมวดที่ 1สายที่ 2

ชื่อเส้นทาง วิทยาลัยครูภูเก็ต - สถานีอนามัยแหลมชั่น

รายละเอียดเส้นทาง

เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโโยสารประจำทางบริเวณวิทยาลัยครูภูเก็ต ไปตามถนนเทพกระษัตรี ผ่านโรงเรียนภูเก็ตเทคโน โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย แยกซ้ายไปตามถนนดำรง ผ่านโรงเรียนสตรีภูเก็ต เรือนจำจังหวัดภูเก็ต แยกขวาไปตามถนนสุรินทร์ ผ่านศาลากลางจังหวัด สำนักงานเทศบาล เลี้ยวขวาไปตามถนนพังงา แยกขวาเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต และไปตามถนนดิลกอุทิศ2 แยกขวาไปตามถนนอ๋องซิมผาย ผ่านตลาดเกษตร ตรงไปตามถนนกระ ถนนพูนผล โรงเรียนเทศบาลเมือง แยกซ้ายไปตามถนนบางกอก แยกซ้ายไปตามถนนเจ้าฟ้า ผ่านสวนหลวง ร9 ถึงสามแยกท่าแครง แยกซ้ายไปตามถนนศักดิเดช แยกขวาเข้าสถานีอนามัยแหลมชั่น ไปสิ้นสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีอนามัยแหลมชั่น

หมวดที่ 1สายที่ 1

ชื่อเส้นทาง โรงเรียนเทศบาลสามกอง - วิทยาลัยอาชีวะศึกษาภูเก็ต

รายละเอียดเส้นทางเที่ยวไป - เริ่มต้นจากโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง ไปตามถนนเยาวราช ผ่าน รพ.วชิระภูเก็ต วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต แยกขวาไปตามถนนแม่หลวน ผ่านที่ว่าการอำเภอเมือง แยกซ้ายไปตามถนนวิชิตสงคราม ผ่านโรงเรียนประศาสน์วิทยา โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา ไปตามถนนระนอง แยกขวาไปตามซอยภูธร แยกซ้ายไปตามถนนบางกอก ผ่านวงเวียนสุริยะเดช แยกขวาไปตามถนนพังงา แยกซ้ายเข้าสถานีจนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต แยกขวาไปตามถนนพังงา แยกซ้ายไปตามถนนมนตรี ผ่านวงเวียนหอนาฬิกา ตรงไปตามถนนภเก็ต ผ่านโรงเรียนเทศบาลบางเหนียว วิยาลัยชุมชนภูเก็ต ถึงสะพานหิน แยกขวาไปสิ้นสุดที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา

ภูเก็ตเที่ยวกลับ - เริ่มต้นจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ไปตามถนนภูเก็ต ผ่านสะพานหิน วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต โรงเรียนเทศบาลบางเหนียว แยกซ้ายไปตามถนนรัษฎา ถึงวงเวียนสุริยเดช ไปตามถนนระนอง ถนนวิชิตสงคราม ผ่านโรงเรียนขจรเกียรติศึกษา ถึงโรงเรียนประศาสน์วิทยา แยกขวาไปตามถนนแม่หลวน ผ่านที่ว่าการอำเภอเมือง และไปตามเส้นทางเดม ไปสิ้นสุดที่โรงเรียนเทศบาลสามกอง

การเดินทางภายในจังหวัดภูเก็ต

ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ไม่กว้างมากนัก การเดินทางส่วนใหญ่จึงนิยมเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ เพราะว่าสะดวกและรวดเร็ว ทั้งยังสามารถหาเช่ารถภายในตัวเมืองได้ง่าย นอกจากนิยมเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์แล้ว หากไม่สะดวกที่จะขับเอง สามารถเรียกใช้บริการของวินมอเตอร์ไซด์, รถสองแถว และ รถโดยสารประจำทางของจังหวัดได้

เส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางภายใน จังหวัดภูเก็ต

รถหมวด1 ในเขตจังหวัดภูเก็ตมีจำนวน 2 เส้นทางคือ
1.สายที่ 1 โรงเรียนเทศบาลสามกอง - วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
2.สายที่ 2 วิทยาลัยครูภูเก็ต - สถานีอนามัยแหลมชั่น

รถหมวด4 ในเขตจังหวัดภูเก็ตมีจำนวน 10 เส้นทางคือ
1.สายที่ 1811 ภูเก็ต - ท่าฉัตรชัย
2.สายที่ 1812 ภูเก็ต - กมลา
3.สายที่ 1813 ภูเก็ต - อ่าวบางโรง
4.สายที่ 1814 ภูเก็ต - ป่าตอง
5.สายที่ 1815 ภูเก็ต - หาดราไวย์ - หาดในหาน
6.สายที่ 1817 ภูเก็ต - เกาะสิเหร่
7.สายที่ 1818 ภูเก็ต - อ่าวมะขาม - สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล
8.สายที่ 8357 ท่าอากาศยานภูเก็ต - หาดราไวย์ ***
9.สายที่ 8359 ภูเก็ต - กะตะ - กะรน - หาดบางเงือก
10.สายที่ 8360 ภูเก็ต - อ่าวฉลอง

***สำหรับเส้นทางที่ 8357 ท่าอากาศยานภูเก็ต-หาดราไวย์ เป็นเส้นทางที่กำหนดขึ้นใหม่ กำหนดให้ใช้รถปรับอากาศชั้น 2 สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ตได้เคย จัดให้มีการประกาศคำขอผู้ที่ประสงค์จะประกอบการขนส่งปรากฏว่ามีผู้ยื่นคำขอเพียงรายเดียว แต่ยังไม่ทันได้จัดการเดินรถ บริษัทดังกล่าวได้เลิกกิจการไปและไม่ประสงค์จะจัดการเดินรถในเส้นทาง

สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ตจึงได้ประกาศคำขอหาผู้ประกอบการอีกครั้ง เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาปรากฏว่าไม่มีผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบการเดินรถในเส้นทางสายดังกล่าว

การเดินทางสู่ภูเก็ต

ทางรถยนต์

เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 4 โดยตลอด ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตรงมาถึง จ.ชุมพร จากนั้นมีสอง ทาง คือ

1.เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (ทางหลวงสายเดิม) ผ่าน อำเภอกระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดระนอง อำเภอกะเปอร์ กิ่งอำเภอสุขสำหราญ อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง ของจังหวัดพังงา ข้ามสะพานท้าวเทพกษัตรีย์ (สะพานสารสิน) เข้าจังหวัดภูเก็ต รวมระยะทาง 862 กม. (หมายเหตุ: ทางนี้คดเคี้ยวมาก เพราะถนนตัดไปตามไหล่เขา ไม่เหมาะเดินทางกลางคืน แต่เนื่องจากใกล้ทะเลและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง เราจะพบป้ายแหล่งท่องเที่ยวริมทางหลายแห่ง)

2.ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 41 ผ่าน อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน อำเภอละแม อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอพูนพิน แล้วให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 ตรงมาเรื่อยจนพบสามแยกที่อำเภอพนม ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 415 ตรงมาเรื่อยจนพบทางสามแยกให้เลี้ยวเข้า อำเภอทับปุด แล้ว ใช้ทางหลวง 4144 ขับเรื่อยมาจนพบทางสามแยก จะพบป้ายบอกทางให้เลี้ยวซ้ายเข้า จ.ภูเก็ต (บล็อคเกาะภูเก็ต แนะนำ: เส้นทางนี้จะยาวกว่าเส้นทางแรก แต่จะเดินทางสะดวกกว่ามาก เพราะทางไม่ค่อยคดเคี้ยว และปัจจุบันเป็น ถนน ทูเวย์ จนถึง อำเภอไชยา และกำลังสร้างต่อไปอีกถึง จ.สุราษฎร์)

ทางรถโดยสารประจำทาง

มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ไปภูเก็ตทุกวัน สอบถามได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192 บริษัทเอกชน ติดต่อ บริษัทภูเก็ตเซ็นทรัล โทร. 435-5019 และบริษัทภูเก็ตท่องเที่ยว โทร. 435-5018 สถานีขนส่งภูเก็ต โทร. (076) 211480

ทางรถไฟ

ไม่มีบริการรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปภูเก็ตโดยตรง ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางโดยรถไฟต้องไปลงที่สถานีรถไฟ พุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถประจำทางเข้าจังหวัดภูเก็ต สอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020

ทางเครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด จัดเที่ยวบินกรุงเทพฯ - ภูเก็ตทุกวัน รายละเอียดติดต่อได้ที่ โทร. 280-0060, 628-2000-บริษัท การบินไทยภูเก็ต โทร. (076) 211195, 212499, 212946-บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด จัดเที่ยวบินกรุงเทพฯ - อู่ตะเภา - ภูเก็ต - และกรุงเทพฯ - สมุย - ภูเก็ต ทุกวัน รายละเอียดติดต่อ โทร. 229-3456-63 ภูเก็ต โทร. (076) 212341, 225033-5

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 076)

- สำนักงานจังหวัด (211-366)
- ททท. สำนักงานภาคใต้เขต 4 (212-213), (211-036)
- ตำรวจท่องเที่ยว (219-878)
- สนามบินภูเก็ต (327-230-7)
- ตรวจคนเข้าเมือง (212-108)
- การบินไทย (ภูเก็ต) (211-195), (212-946), (212-499)
- บางกอกแอร์เวยส์ (212-341),(225-033-5)

- โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต (254-421) , (254-425)
- โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต (211-114) , (211-155)

- โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต (212-386)
- โรงพยาบาลสิริโรจน์ (249-400), (210-935)

- โรงพยาบาลกระทู้ (340-444)
- โรงพยาบาลถลาง (311-033) , (311-111)

14 เมษายน 2552

อาณาเขต

- ทิศเหนือ จดช่องปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานเทพกระษัตรี
- ทิศใต้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
- ทิศตะวันออก จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
- ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

จังหวัดภูเก็ตแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้

12 เมษายน 2552

ประวัติ

เดิมคำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณีคราม ตามหลักฐาน พ.ศ.1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐาน ที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของทอเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ.700กล่าวถึงการเดินทางจาก แหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ตนั่นเอง

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็จ และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน